การเมือง ของ สมศักดิ์ เทพสุทิน

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย ตั้งแต่ปี 2526 ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรกในรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข[4] ในรัฐบาลชุดต่อมาของนายชวน หลีกภัย จึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีอีกครั้ง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[5] ต่อเนื่องมาจนกระทั่งรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และยังได้รับการปรับใปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอีกครั้งในรัฐบาลชุดนี้

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลชวน 2 ต่อมาจึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งปี 2544 โดยให้ภรรยาลงสมัครในระบบเขตแทน และนายสมศักดิ์ ยังได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี 2545 แล้วจึงปรับมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2546 และเป็นรองนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา จากนั้นในปี 2548 จึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีอีกครั้งในรัฐบาลทักษิณ 2 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา[6] และปรับเปลี่ยนมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

นายสมศักดิ์ เป็นหัวหน้ากลุ่มการเมืองในพรรคไทยรักไทยที่ชื่อ "กลุ่มวังน้ำยม" อันเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในพรรค ในการหาเสียงการเลือกตั้งในปี 2548 นายสมศักดิ์ มีนโยบายที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ "โคล้านตัว" เป็นนโยบายที่จะทำการแจกโคให้แก่เกษตรกรฟรีทั่วประเทศ และเป็นที่มาของการจัดตั้งบริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด แต่โครงการดังกล่าวก็ไม่ประสบความสำเร็จ สามารถดำเนินการจัดหาโคได้เพียง 21,ุ684 ตัวเท่านั้น[7]

หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2549

หลังการรัฐประหารในปี 2549 นายสมศักดิ์และกลุ่มวังน้ำยมได้ลาออกจากพรรคไทยรักไทย ไปจัดตั้งกลุ่มของตัวเองขึ้นมาใหม่ ใช้ชื่อว่า "กลุ่มมัชฌิมา" ต่อมาในปี 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[8] แต่ก็ยังดำเนินการทางการเมือง ด้วยการนำพาสมาชิกที่เหลือไปสังกัดกับทางพรรคประชาราช โดยที่นางอนงค์วรรณได้เป็นเลขาธิการพรรคในเวลาต่อมา แต่ก็อยู่กับทางพรรคประชาราชได้ไม่นาน เมื่อนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ มีความเห็นไม่ลงตัวกับนายเสนาะ เทียนทอง กลุ่มของนายประชัยและนายสมศักดิ์จึงได้ไปรวมตัวกันใหม่ ในชื่อ พรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยที่นางอนงค์วรรณก็ได้เป็นเลขาธิการพรรคด้วย

ต่อมาในปี 2551 ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำพิพากษายุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี ทำให้ ส.ส. ในกลุ่มของนายสมศักดิ์ จึงได้ย้ายมาร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่มเพื่อนเนวิน ในนามพรรคภูมิใจไทย และนายสมศักดิ์ ก็ยังนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในฐานะแกนนำกลุ่ม ส.ส. ซึ่งสื่อมวลชนให้ชื่อกลุ่มแกนนำนี้ว่า "8ส.+ส.พิเศษ" อันประกอบด้วย สมศักดิ์ เทพสุทิน สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สุวิทย์ คุณกิตติ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ สนธยา คุณปลื้ม และสรอรรถ กลิ่นประทุมส่วน ส.พิเศษ คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[9]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 16[10]

หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2557

ในปี 2561 นายสมศักดิ์ ได้ระบุจะไม่ทำการยืนยันสมาชิกกับพรรคเพื่อไทย ซึ่งเท่ากับสิ้นสุดการเป็นสมาชิกพรรค[11] และได้ประกาศเข้าร่วมงานกับ พรรคพลังประชารัฐ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อกลุ่มการเมืองของตนจากกลุ่ม วังน้ำยม หรือ มัชฌิมา เป็น กลุ่มสามมิตร โดยจับมือกับนาย สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตเลขาธิการ พรรคไทยรักไทย ผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มสามมิตรทำการทาบทามบรรดาอดีต ส.ส. ส.ว. และนักการเมืองท้องถิ่นให้เข้าร่วมงานกับ พรรคพลังประชารัฐ

ใกล้เคียง

สมศักดิ์ เทพสุทิน สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ สมศักดิ์ ศิษย์ชัชวาลย์ สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ สมศักดิ์ ชัยสงคราม สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต สมศักดิ์ ขวัญแก้ว สมศักดิ์ พรนารายณ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมศักดิ์ เทพสุทิน http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.komchadluek.net/2009/01/18/x_agi_b001_3... http://www.khaosod.co.th/politics/news_3233125 http://www.moneychannel.co.th/Menu6/BreakingNews/t... http://www.moac.go.th/ewt_news.php?nid=3894&filena... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0015467... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2536/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/B/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/E/...